|
 |
|
1.
พัฒนาองค์กรให้มีความเป็นเลิศด้านการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ของประเทศโดยบูรณาการงานบริการ งานวิจัย และงานฝึกอบรม เพื่อใช้เป็นฐานการสร้างความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ |
|
2. ส่งเสริมความร่วมมือของภาคีเครือข่ายด้านการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ ทั้งในและต่างประเท |
|
3. ประสานและรวบรวมแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ให้ครอบคลุมมิติการส่งเสริม การป้องกัน การบำบัดรักษา และการฟื้นฟูสภาพ |
 |
ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์จัดตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 โดยมีขอบเขตความรับผิดชอบใน 3 มิติ ดังนี้ |
|
 |
|
|
เป็นศูนย์พัฒนาความเชี่ยวชาญในงานวิจัยโดยใช้ปัญหาทางคลินิกในบริบทของผู้มารับบริการปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ ณ โรงพยาบาลสวนปรุงและความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป็นพื้นฐานการวางแผนศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ระดับประเทศ และเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยเพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศทางด้านการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ระดับประเทศ
|
|
 |
|
|
เป็นศูนย์กลางการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ เทคโนโลยี ผ่านการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา เพื่อให้บุคลากรด้านสุขภาพและบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ ให้การสนับสนุนและประสานการพัฒนาบุคลากรสหวิชาชีพทั้งภายในและภายนอกองค์กร
|
|
 |
|
|
เป็นศูนย์กลางข้อมูล/สารสนเทศด้านการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ |
 |
|
1.
มีผลงานวิจัยที่สนับสนุนความเป็นเลิศด้านการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์อย่างน้อย 2 เรื่อง/ปี
|
|
2. ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติและระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง/ปี
|
|
3. ผลงานวิจัยได้รับการยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติโดยเข้าร่วมการนำเสนอผลงานทางวาจา หรือโปสเตอร์ ในการประชุมวิชาการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาการดื่มสุรา อย่างน้อย 2 เรื่อง/ปี
|
|
4. มีการศึกษาวิจัยร่วมกับนักวิชาการต่างประเทศอย่างน้อย 1 เรื่อง |
|
5. มีทำหลักสูตรการฝึกอบรมด้านการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 1 หลักสูตร |
|
6. มีการจัดทำฐานข้อมูลและสถิติ ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของโรงพยาบาลสวนปรุง |
 |
|
1. พัฒนาระบบการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ ร่วมกับทีม PCT Alcohol ทีมนำทางคลินิกและผู้ปฏิบัติงาน Supra Specialist Service |
|
2. พัฒนาบุคลากรภายในสู่ความเชี่ยวชาญด้านการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ |
|
3. พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม/คู่มือ/องค์ความรู้ด้านการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ |
|
4. พัฒนาผลงานทางวิชาการและงานวิจัยด้านการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ |
|
5. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองการปฏิบัติงานด้านการให้บริการ การฝึกอบรม และงานวิจัยด้านการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ |
|
|
|
|
|
|